นโยบายที่ ๑ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการ ด้านสาธารณูปโภคที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้
๑.ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีมาตรฐาน
๑.๑ ก่อสร้างและปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐาน พร้อมไฟฟ้าแสงสว่างสองข้างทาง ให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการดำรงชีวิต
๑.๒ พัฒนาระบบประปา และแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และเร่งแก้ไขปัญหาการขากแคลนน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
๑.๓ ให้มีป้ายบอกชื่อ ถนน – ซอย และแผนผังชุมชน เพื่อความอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เส้นทางสัญจร
๒. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีสถานที่สำหรับสันทนาการ
๒.๑ ปรับปรุงพื้นที่หน้าที่ทำการ อบต. ให้เป็นลานกิจกรรมและสันทนาการ เพื่อส่งเสริมการแสดงออกทางความคิดอย่างเสร้างสรร และ เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนราชการและประชาชน ทั้งยังเป็นสถานที่พักผ่อนของบุคคลทั่วไปด้วย
๓. ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
๓.๑ ขุดลอกคู คลอง และทางระบายน้ำ อย่างต่อเนื่อง
๓.๒ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
นโยบายที่ ๒ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่น
เป้าหมาย สถานศึกษา มีคุณภาพ เด็ก เยาวชน และประชาชน ต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ วัด มัสยิดในตำบล ได้รับการสนับสนุนในกิจกรรมทางศาสนา ดังนี้
๑. ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา
๑.๑ สนับสนุนอาหารกลางวันและอาหารเสริมนมแก่เด็กสังกัดศูนย์เด็กเล็กและนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดโรงเรียนในพื้นที่ ให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ ตามหลักโภชนาการ และติดตามประเมินการให้บริหารของสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อย่างต่อเนื่อง
๑.๒ จัดการสอนเสริมให้เด็กในพื้นที่ตำบล โดยเฉพาะวิชาที่ใช้สอบเข้าเพื่อเรียนต่อในระดับมัธยม เช่น ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อังกฤษ และเพื่อเป็นการลดรายจ่ายของผู้ปกครอง
๑.๓ สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน เป็นเด็กดี เรียนดี หรือขาดแคลน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจอยากเป็นคนเก่ง คนดีของสังคมต่อไป
๑.๔ ส่งเสริมการจัดการแข่งขันด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้นักเรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้
๑.๕ ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานที่ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ สู่สังคมความรู้อย่างมีคุณภาพ
๑.๖ สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอ ต่อการพัฒนาผู้เรียน.................................
๑.๗ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลาการทางการศึกษา ให้มีคุณภาพเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
๑.๘ สนับสนุนให้เด็กและชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่น ตลอดถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดความภาคภูมิ ใจและสามารถใช้เลี้ยงชีพได้ในอนาคตหากจำเป็น
๑.๙ จัดให้มีการสอนภาษาอังกฤษ โดยครูที่เป็นเจ้าของภาษา เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น
๑.๑๐ ปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีอยู่เดิมให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น เช่นสุขาสำหรับเด็ก เพิ่มความปลอดภัยจากยุงลาย หรือจากโรคอุจจาระร่วงหรืออื่น ๆ
๑.๑๑ จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลที่มีคุณภาพ พร้อมจัดให้มีรถ รับ – ส่ง เพราะศูนย์ที่มีอยู่เดิมได้รับถ่ายโอนมา อาศัยสถานที่ของโรงเรียน บางศูนย์ก็คับแคบ จำเป็นต้องขยับขยาย เพื่อให้ได้พัฒนาง่ายขึ้นในอนาคต และจะจัดให้มีรถบริการ รับ – ส่ง เพื่อความสะดวกของผู้ปกครอง
๒. ส่งเสริมสนับสนุนการศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
๒.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบพิธีฮัจ พิธีเข้าสุนัด และประเพณีเดือนรอมดอล ของพี่น้องชาวมุสลิม
๒.๒ ส่งเสริมกิจกรรมของสภาวัฒนธรรม เพื่อรื้อฟื้นประเพณีดั้งเดม เช่นการจัดหมรับเดือนสอบ ฯลฯ
นโยบายที่ ๓ ด้านความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เป้าหมาย เพื่อให้ชาวทุ่งหวังมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข มั่นคง ปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนี้
๑.ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้ และร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ตลอดถึงเข้าสู่กระบวนการกำหนดแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้วยการมีส่วนร่วม ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน
๒. ปรับปรุงอาคารศาลาตลาดสามแยกทุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และศูนย์กลางการบรรเทาสาธารณภัย การป้องกันภัย การแก้ไขปัญหา และเป็นศูนย์ประสานงาน ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
๓. แก้ไขปัญหาระบบจราจรในทุกถนนในตำบลอย่างมีระบบทั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจร โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จะติดตั้งสัญญาณไฟ หรือเครื่องหมายจราจรเพิ่มขึ้น
๔. สนับสนุน ให้มีรถดับเพลิงประจำตำบล
๕. ให้มีระบบสื่อสารที่รวดเร็ว และเข้าถึงประชาชนทุกหมู่เหล่า ด้วยระบบเทคโนโลยี ที่ทันสมัย เช่น
..........................................................................................................
นโยบายที่ ๔ ด้านความเข้มแข็งของชุมชน
เป้าหมาย ชุมชนจะต้องมีโอกาสแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมที่สมบูรณ์ ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อการดูแล และพึ่งพาตนเองได้ อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
๑. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดต้งกลุ่มองค์กร และสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพ กลุ่มที่มีอยู่แล้ว และเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของกลุ่มและสมาชิก
๒ส่งเสริมให้มีเวทีเรียนรู้ขององค์กรชุมชน และเรียนรู้กับองค์กรภาคพันธมิตรจากภายนอกพื้นที่ เช่น......................................................................................................
๓. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดระบบสวัสดิการสังคมในชุมชนอย่างมีคุณภาพและครอบคลุม เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสวัสดิการ เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชน (ออมทรัพย์ลดรายจ่ายวัน ๑ บาท
๔. ให้มีศูนย์เฝ้าระวังการแพร่กระจายยาเสพติด
๕. ปรับปรุงกระบวนการประชาคม ศึกษากรอบความคิดประชาสังคม เพื่อนำมาใช้ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน แผนพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้าหน้าที่และสมาชิก อบต.ทุกคน
นโยบายที่ ๕ ด้านการบริหารจัดการองค์กร
เป้าหมาย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อบริการประชาชนและมุ่งไปสู่การยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ให้ทำงานเชิงรุกแบบบูรณาการ มีความคล่องตัวรวดเร็ว มีขีดสมรรถนะ และสร้างผลงานได้สูง เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้เพื่อเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การปฏิบัติงานตามนโยบาย ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ ดังนี้
๑ การบริหารจัดการโดยยืดหลักคุณธรรมและธรรมาภิบาล
๑.๑ พัฒนากลไกเจ้าหน้าที่ ให้สามารถทำงานด้วยความกระตือรือร้น รับผิดชอบและมีความสุข จากการทำงาน ภายใต้เป้าหมายเดียวกันคือ ประโยชน์สูง ประหยัดสุด โดยเน้นความถูกต้องและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
๑.๒ สร้างวิธีการพบประชาชน ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ทั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ คณะผู้บริหารและสมาชิก อบต.
๑.๓ ให้บริหารประชาชนอย่างรวดเร็ว โปร่งใส เป็นกันเอง โดยวิธีการเข้าถึง เข้าใจ พัฒนา
๑.๔ ผนึกกำลัง เอาคนและกลุ่มคนที่มีศักยภาพในตำบลได้เข้ามาช่วยในการให้ความรู้ความคิดและเป็นคณะทำงานร่วมในหลาย ๆ ภารกิจ
๑.๕ ให้มีการบริการเคาเตอร์เซอวิสและธุรกรรมทางการเงิน (เอ ที เอ็ม)
๑.๖ พัฒนาศักยภาพบุคลากรอยางต่อเนื่องอย่างน้อยปีละสองครั้ง ให้มีความรู้ ความสามารถ ทันกับความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ และการเจริญเติบโตของชุมชน พร้อมการติดตามประเมินผลการทำงาน
๑.๗ สร้างเครื่องมือในการพิจารณาให้ความดีความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน เพื่อกระตุ้นการทำงาน และเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการพิจารณา
๑.๘ จัดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อช่วยเหลือประชาชน เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที รวมตลอดถึงการจัดให้มีที่ปรึกษาด้านกฎหมายเพื่อที่พึ่งแก่ประชาชน
๑.๙ ยก ฐานะองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเทศบาลตำบล
นโยบายที่ ๖ ด้านสาธารณสุข
เป้าหมาย สังคมทุ่งหวังจะต้องมีความเป็นอยู่อย่างมีสุขภาวะ ทางกาย ทางใจ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
๑. ปรับปรุงและพัฒนาการบริการด้านสาธารณสุขให้กับประชาชนอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
๑.๑ ให้ความรู้ความเข้าใจ และกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการดูแลระบบสุขภาพ ของประชาชนอย่างต่อเนื่องพร้อมกับการสนับสนุนการให้บริการสาธารณสุขเคลื่อนที่
๑.๒ พัฒนาศักยภาพของ อสม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน
๑.๓ ส่งเสริมให้ อสม. ร่วมกำหนดแผนงานการใช้งบประมาณ สปสช.กับประชาชน เพื่อร่วมกันดูแลสุขภาพของประชาชน
๑.๔ ส่งเสริมกองทุนระบบระบบหลักประกันสุขภาพ ให้สามารถเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรที่ดูแล ให้กำลังใจผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรัง
๑.๕ ปรับปรุงการให้บริการรถฉุกเฉิน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการช่วยเหลือชีวิตคนให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและปลอดภัย
๒. ส่งเสริมให้มีความเข้าใจและเกิดความตระหนักต่อการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
๒.๑ ให้มีการจัดเก็บขยะมูลฝอย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะทางสิงแวดล้อม
๒.๒ ส่งเสริมให้มีความเข้าใจและเกิดความตระหนักต่อการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ สร้างจิดสำนึกในการลดปริมาณขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะ ในการใช้ประโยชน์จากขยะ และกำจัดขยะมูลฝอยอย่างมีระบบ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน
นโยบายที่ ๗ ด้านกีฬา และนันทนาการ
เป้าหมาย เพื่อให้คนทุกเพศทุกวัย ได้มีโอกาสในการออกกำลังกายทั้งเพื่อสุขภาพและความเป็นเลิศ ดังนี้
๑. ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
๑.๑ ให้มีพื้นที่ เพื่อการออกกำลังกายและการฝึกฝนกีฬาไปสู่ความเป็นเลิศ
๑.๒ ให้มีอุปกรณ์กีฬา แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัยอย่างเพียงพอ
๑.๓ จัดให้มีการแข่งขันกีฬา ฟุตบอลลีก วอลเลย์บอลลีก ตะกร้อลีก ทุ่งหวังมาราธอน ฯลฯ
๑.๔ สนับสนุนการแข่งขันกีฬานักเรียนและ กีฬาประชาชน
๑.๕ จัดให้มีการแข่งขันกีฬาเพื่อนันทนาการสำหรับประชาชน
นโยบายที่ ๘ ด้านการอาชีพ
เป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนทุ่งหวังได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพ ทั้งอาชีพหลัก และอาชีพเสริมอย่างยั่งยืน ดังนี้
๑. ปรับปรุงตลอดนัดชุมชนถนนคนเดิน ให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ขายสบายสำหรับผู้ซื้อ จัดห้องน้ำ ให้เกิดความสะอาดและสิ่งแวดล้อมที่ดี
๒. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนเกษตรอินทรีย์
๓. จะพัฒนาและปรับปรุงโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ให้เอื้อต่อการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรในตำบลและเพิ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อบริการประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
๔. จัดให้มีการให้ความรู้ความเข้าใจต่อการทำเกษตรยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน
๕. จัดให้มีพื้นที่สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรปลอดเคมี และเมล็ดพันธุ์
๖. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรับรองที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค (GAP…หรือ การผลิตพืช เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานปลอดภัยปลอดศัตรูพืชและคุณภาพถูกใจ)
๗. พัฒนาและยกระดับการเพิ่มมูลค่าสินค้าสำหรับกลุ่มที่ดำเนินการมาแล้ว พร้อมกับให้มีการจัดกลุ่มใหม่ ๆ ในขณะเดียวกันจะสนับสนุนให้เกิดสินค้าโอทอปของตำบล
สำหรับ นโยบายเร่งด่วน ที่จะดำเนินการในช่วงปีแรก
๑. ส่งเสริมให้มีการเก็บขยะในชุมชนอย่างเป็นระบบ โดย จัดหาที่ทิ้งขยะ ให้มีถังขยะ และวางตามจุดย่านชุมชนตามสมควร ให้มีรถเก็บขนขยะ และบริการจัดเก็บขยะ นำร่องในจุดที่ควรดำเนินการก่อน
๒. แก้ปัญหาน้ำท่วม ภายในตำบลอย่างยั่งยืน โดยการขุดลอกคู คลอง และทางระบายน้ำ อย่างต่อเนื่อง
๓. แก้ปัญหาระบบการจราจรภายในตำบลอย่างมีระบบ โดยจะติดตั้งระบบสัญญาณไฟจราจรและเครื่องหมายจราจร บริเวณจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย
๔. ส่งเสริมอำนวยความสะดวกตลาดนัดและตลาดถนนคนเดิน โดยการจัดเจ้าหน้าที่ให้ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาด ทั้งช่องทางเดิน การวางแผงจำหน่าย
๕. จัดให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดย จัดให้มีการสอนภาษาอังกฤษ โดยครูต่างชาติที่ผ่านการรับรองจากคุรุสภาว่าสามารถสอนภาษาอังกฤษได้ และให้มีโอกาสได้สนทนากับเจ้าของภาษา เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น
๖. การพัฒนาบุคลากร โดยการจัดอบรม ทั้งพนักงานและลูกจ้าง บุคลากรทางการเมืองให้ตระหนักถึงบทบาท อำนาจหน้าที่ ที่รับผิดชอบ และทำงานเป็นทีมเพื่องานและการบริการประชาชน
ทั้งหมดก็คือ นโยบายที่กระผมในฐานะได้รับความไว้วางใจ ได้ร่วมปรึกษาหารือกับบุคคล กลุ่มบุคคล และแกนนำโดยอาศัยพื้นฐานของความเป็นมาในอดีตที่ยังเหลือคุณค่าทั้งความรู้ ศักยภาพสะสมมาอย่างยาวนานประกอบกับสถานการณ์ความเป็นจริงในพื้นที่ จึงได้ร่วมกำหนดนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งเหล่านี้ ทั้งนี้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ความก้าวหน้า ทันสมัย และเท่าทันต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่และอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อความมั่นคง เข้มแข็ง ตลอดจนการอยู่ร่วมกันของชุมชนทุ่งหวังด้วยความสุข สงบ โดยความรักสามัคคี เกื้อกูลต่อกัน
หวังว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้ทำความเข้าใจและช่วยขับเคลื่อนไปข้างหน้าซึ่งโดยลำพังกระผมและคณะบริหารคงไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จทุกด้านได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากท่าน